ประวัติความเป็นมา วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง
-
พ.ศ. 2565
เพิ่มสาขาสาขาวิชาการบัญชี (ต่อเนื่อง) ระดับปริญญาตรีเทคโนโลยีบัณฑิต
-
พ.ศ. 2564
เพิ่มสาขาวิชาเทคโลยีสารสนเทศ สาขางานคอมพิวเตอร์กราฟิก เกม และแอนิเมชั่น (ปวช)
-
พ.ศ. 2563
เปลี่ยนชื่อสาขาวิชา ปวส. สาขาวิชาดิจิทัลกราฟิก สาขางานดิจิทัลกราฟิก
เปลี่ยนชื่อสาขาวิชา ปวส. สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล สาขางานธุรกิจดิจิทัล
-
พ.ศ. 2560
เปิด ปวช. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก สาขางานคอมพิวเตอร์กราฟิกอาร์ต
เปิด ปวส. สาขาวิชาการโรงแรม 2 สาขางาน คือ
- สาขางานการบริการอาหารและเครื่องดื่ม (ทวิภาคี)
- สาขางานการบริการส่วนหน้าโรงแรม (ทวิภาคี)
-
พ.ศ. 2558
เปิด ปวส. สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน
-
พ.ศ. 2557
เปิด ปวส. สาขาวิชาการตลาด ระบบทวิภาคี
เปิด ปวส. สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ ระบบทวิภาคี
-
พ.ศ. 2556
เปิด ปวส. ประเภทวิชาศิลปกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
เปิดระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี(ต่อเนื่อง)
เปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษ (Mini English Program) สาขาวิชาการบัญชี ระดับ ปวช. และ ปวส. , สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ ระดับ ปวช. และ ปวส.
-
พ.ศ. 2555
เปิด ปวส. ประเภทวิชาคหกรรม สาขางานการจัดการคหกรรมโรงแรม
เปิด ปวส. ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขางานการพัฒนาโปรแกรม
-
พ.ศ. 2554
เปิด ปวช. ประเภทวิชาคหกรรม สาขางานคหกรรมเพื่อการโรงแรม
-
พ.ศ. 2551
เปิด ปวส. ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจรับจัดงาน และได้ปิด ในปี พ.ศ. 2553
-
พ.ศ. 2548
เปิด ปวช. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขางานการประชาสัมพันธ์
-
พ.ศ. 2546
เปิด ปวส. ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
-
พ.ศ. 2545
เข้าร่วมกับสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และจังหวัดลำปาง รวมเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3
-
พ.ศ. 2544
เปิด ปวส. ประเภทวิชาศิลปกรรม สาขาวิชาจิตรกรรมสากล
เปิด ปวส. ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก (ทวิภาคี) สาขางานการบริหารงานธุรกิจค้าปลีกสินค้าเฉพาะอย่าง และสาขางานธุรกิจซูเปอร์เซ็นเตอร์
เปิดหอศิลป์ คณะศิลปกรรม
-
พ.ศ. 2543
เปิดภาคสมทบระดับ ปวส. สาขาวิชาการตลาด และปิดไปใน พ.ศ. 2544
-
พ.ศ. 2541
เปิดหลักสูตรภาคสมทบ ปวช. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ซึ่งได้ปิดไปในปี พ.ศ. 2544
เปิดภาคสมทบ ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และได้ปิดไปในปี พ.ศ.2544 เปิดหลักสูตรปริญญาตรี ประโยควิชาชีพครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) สาขาวิชาการบัญชี
-
พ.ศ. 2540
เปิดหลักสูตรภาคสมทบ ปวส. คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี
-
พ.ศ. 2538
เปิดหลักสูตร ปวช. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม กลุ่มวิชาธุรกิจค้าปลีก (ทวิภาคี) และกลุ่มวิชาการโรงแรม ซึ่งกลุ่มวิชาการโรงแรมได้ปิดไปใน พ.ศ. 2540
-
พ.ศ. 2537
เปิดหลักสูตร ปวส. (พิเศษ) รับนักเรียนชั้น ม.6 เข้าศึกษาในคณะบริหารธุรกิจ
-
พ.ศ. 2536
เปิดหลักสูตร ปวช. ประเภทวิชาศิลปหัตถกรรม กลุ่มวิชาหัตถอุตสาหกรรม เครื่องปั้นดินเผา (เซรามิก)
-
พ.ศ. 2535
เปิดหลักสูตร ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาวิชาการตลาด
-
พ.ศ. 2530
ได้ร่วมกับภาคเอกชน คือ บริษัท เอ๊กซ์เซลเอนเตอร์ไพร์ส จำกัด เปิดศูนย์คอมพิวเตอร์ สอนนักเรียน นักศึกษา และบุคคลภายนอก
-
พ.ศ. 2529
เปิดหลักสูตร ปวท. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป
-
พ.ศ. 2527
เปิดหลักสูตร ปวส.
- สาขาวิชาการบัญชี
- สาขาวิชาการเลขานุการ
- สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
- สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย
เปิดหลักสูตร ปวท.
- สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
รับนักเรียนที่จบมัธยมศึกษาตอนปลาย โปรแกรมคหกรรม
เข้าเรียนเพิ่มเพื่อให้ครบหลักสูตร ปวช.- สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย
- อาหารและคหกรรมฯ
-
พ.ศ. 2526
เปิดเพิ่มกลุ่มวิชาศิลปะประยุกต์ ในประเภทวิชา ศิลปหัตถกรรม
-
พ.ศ. 2525
ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาศิลปหัตถกรรมกลุ่มวิชาวิจิตรศิลป์
-
พ.ศ. 2524
ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ และปิดไปใน พ.ศ. 2536
-
พ.ศ. 2522
ได้ยกฐานะจากวิทยาเขต 2 เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2522
-
พ.ศ. 2519
ได้รวมกับโรงเรียนการช่างลำปาง เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง (วิทยาเขต 2) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2519
-
พ.ศ. 2516
ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนอาชีวศึกษาลำปาง" และเปิดสอนแผนกพณิชยการ
-
พ.ศ. 2508
ได้เข้าอยู่ในโครงการยูนิเซฟ เปิดสอนระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกคหกรรมศาสตร์
-
พ.ศ. 2501
ได้รับอนุมัติให้เปิดสอน "ระดับอาชีวะชั้นสูง"
โดยรับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.ศ.3) เข้าเรียนหลักสูตร 3 ปี
เปิดสอนแผนกคหกรรมศาสตร์
- สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย
- สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
สำเร็จการศึกษาระดับนี้แล้ว ได้รับประกาศนียบัตรประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูง
-
พ.ศ. 2491
เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนการช่างสตรีลำปาง"
-
พ.ศ. 2482
เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนช่างเย็บเสื้อผ้าและทอผ้า"
เปิดสอนวิชาช่างเย็บเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นอีกวิชาหนึ่ง
-
พ.ศ. 2481
โอนเข้าสังกัดกรมอาชีวศึกษา ได้รับงบประมาณซื้อที่ดินบริเวณ ห้าแยกประตูชัย เนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 56 ตารางวา
-
พ.ศ. 2480
จังหวัดลำปางได้จัดตั้งขึ้น ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนช่างทอผ้า"
โดยใช้เงินงบประมาณประชาบาล เปิดทำการสอนช่างทอผ้า เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2480